top of page
IMG_1679.jpg

ผ้าย้อมครามเป็นผ้าโบราณของโลกมีอายุมากกว่า6,000 ปี

(Prosea   Bogor 1992:  27)
 

ผ้าสีครามทำจากเส้นใยฝ้าย  ป่าน และลินินย้อมสีครามซึ่งสกัดจากพืชหลายวงศ์ที่เจริญเติบโตในเขตร้อนการใช้สีครามมีจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่19จนช่วงปลายศตวรรษชาวเยอรมันสังเคราะห์สีม่วงได้ในค.ศ. 1856 สังเคราะห์สีแดงในค.ศ.1869
และสังเคราะห์สีครามเป็นการค้าในค.ศ.1890  ซึ่งสีสังเคราะห์มีความบริสุทธิ์สูงจึงให้สีเข้มและย้อมง่ายทาให้ความนิยมสีย้อมจากธรรมชาติลดลงอย่างเร็วใน ค.ศ.1914 มีการใช้สีครามธรรมชาติเหลือเพียงร้อยละ 4 ของครามที่เคยใช้ทั่วโลกเมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20   สีครามมีความสำคัญในระดับท้องถิ่นเท่านั้นดังนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผ้าย้อมครามที่ได้รับการฟื้นฟู
จึงเป็นประวัติศาสตร์ร่วมกันของคนค่อนโลก


 

Indigo12.jpg

สีครามในอดีตสีครามโดดเด่นเป็น “The King  of dyes” (Zollinger 1991 : 191) จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยสีครามสังเคราะห์ในเวลาต่อมาสีครามมีชื่อเคมี  2 –( 1 , 3 –Dihydro –3 –oxo –2H –indol –2 –ylid –ene ) –1 , 2 –dihydro –3H –indol –3 -one   มีชื่อทั่วไปIndigo blue หรือ Indigotin  เป็นผลึกรูปเข็มสีม่วงหรือสีน้าเงินหลอมเหลวที่  320 -390 องศาเซลเซียสมีสมบัติไม่ละลายในน้าแอลกอฮอล์  อีเทอร์  และกรดเจือจางแต่ละลายได้ดีมากในสารละลายอะนิลีนและพิริดีนขณะเดือดละลายได้ดีพอควรในกรดแอซีติกแกลเซียลต้มเดือดถ้าละลายในตัวทาละลายไม่มีขั้วจะเป็นสีม่วงแดงแต่ถ้าละลายในตัวทาละลายมีขั้วจะปรากฏสีน้ำเงิน(Martha  Windholz and et al.1983 : 4840)


ถ้าให้15 ทำปฏิกิริยา กับกรดซัลฟิวริกเย็นจะเกิดกรด disulphonic ซึ่งทำให้อยู่ในรูปของเกลือโซเดียมได้ง่ายเรียกว่าIndigo carmine  มีสีน้าเงินเข้มใช้ย้อมติดสีดีจัดเป็นสีแอซิด (acid dye)มีกระบวนการย้อมต่างจากการย้อมครามซึ่งเป็นสีแว็ต (อัจฉราพร ไศละสูตร 2527 : 203)สีครามมีหลายรูปแบบ(form)โดยรูปแบบของสารต้นตอพบในพืชแหล่งให้สีคืออินดิแคน(indican หรือ indoxyl -D –glucoside) เป็นสารไม่มีสีและไม่ละลายนำ้แต่เมื่อแช่พืชสดในนำ้อินดิแคนจะถูกไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์ บีตา –กลูโคสิเดส (glucosidase)(Prosea  1992  : 82)ที่มีในปากใบของพืชนั้น(Yoshiko Minami and ed al.1997: 219) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีในใบครามเช่นกัน ทำให้อินดิแคนแยกออกเป็น 2 สารคือ อินดอกซิล (Indoxyl) และกลูโคส  สาร 2 ชนิดนี้เป็นสารไม่มีสีละลายน้าได้ทั้งคู่จึงละลายในนำ้แช่ครามและอินดอกซิลถูกออกซิไดส์ได้ง่ายมากด้วยออกซิเจนในอากาศกลายเป็น Indigo blue ที่เสถียรมาก

 

สีน้าเงินไม่ละลายน้ำแต่เนื่องจากอณูของ Indigo blue เล็กละเอียดมากไม่สามารถแยกออกจากน้ำครามได้หากเติมปูนดิบในน้าครามละอองของ Indigo  blue จะจับกับละอองของปูนดิบจนหนักและตกตะกอนจึงแยกตะกอนเก็บไว้เรียกสารผสมนี้ว่าเนื้อครามแต่ใช้เนื้อครามย้อมเส้นใยไม่ได้เนื่องจาก Indigo   blue ไม่ละลายน้าต้องรีดิวซ์Indigo   blue ในสารละลายด่างให้เป็นสารที่ละลายน้าได้เรียกว่าIndigo white ซึ่งเป็นสารไม่มีสีตัวรีดิวซ์และด่างที่ใช้มีหลายคู่ได้แก่โซเดียมไดไทโอไนต์ในโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Na2S2O4 /  NaOH)(ไพศาล  คงคาฉุยฉาย และคณะ 2543  :  11) หรือฝุ่นผงสังกะสีในน้าปูนใสอุ่นไม่เกิน60 องศาเซลเซียส (Zn  /  Ca(OH)2 ) (Yoshiko  Wada.et  al.1999:  280) หรือน้าขี้เถ้าในน้าปูนใส(ภูมิปัญญาท้องถิ่น) หรือไทโอยูเรียไดออกไซด์ในโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Young–A.Son , Jin-Pyo Hong , Tae-kyung  kim.2004) ) สีครามในน้าย้อมคือIndigo  white นั่นเอง


โดย Indigo white จะถูกออกซิไดส์ได้ง่ายมากด้วยออกซิเจนในอากาศกลับไปเป็น Indigo  blue

Get Great Business Tips to Your Mailbox. Subscribe.

Thanks for subscribing!

bottom of page